**

Image

 

แผ่อย่างนี้ นึกซ้ำๆ บ่อยๆ เข้าเพื่อจะดึงจิตเราให้คล้อยตาม คือให้จิตมีเมตตาจริงๆ แต่ถ้าหากว่าภาษาบาลีเราไม่ถนัด นั่งนึกแต่บาลีจำไม่ได้ก็เลยเครียด แผ่แล้วอย่าให้สมองเครียดเพราะเป้าหมายจริงๆ ของการแผ่เมตตา คือให้เข้าถึงความโปร่งเบาทางจิต เมื่อจิตมีความสุขก็มีสมาธิ เพราะความสุขเป็นเหตุของสมาธิ เพราะฉะนั้นเราต้องปรับสมอง ปรับใจของเราให้สบายๆ ถ้าแผ่เป็นภาษาบาลีไม่ได้ ก็แผ่เป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า

“ขอให้สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด”

แผ่เป็นภาษาไทยอย่างนี้ วนๆ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น ให้จิตคล้อยตาม หรือถ้ายังยาวไปมันหลายบท จำยาก จำไม่ได้ ก็ใช้บทเดียวก็ได้ว่า “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” ว่าอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมา “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” แล้วก็พยายามน้อมให้จิตคล้อยตาม คือเราอาจจะไม่ต้องไปนึกเห็นหน้าตาของคนที่เราแผ่เมตตาให้ชัดเจน แต่ให้นึกแบบรวมๆ

เหมือนเราแผ่เมตตาให้เป็นวงกว้างออกจากตัวออกจากใจของเรา แผ่ขยายออกไป แผ่ออกไปกว้างๆ เหมือนแสงที่กระจายออกไปจากรอบตัวเรา กว้างออกไป...กว้างออกไป...นึกแผ่ออกไปให้รวมๆ ไปทั้งหมดทุกชีวิต ทั้งมนุษย์ ทั้งเทวดา ทั้งสัตว์ในอบายภูมิ ซึ่งเรารวมเรียกว่าสัตว์ทั้งหลาย นอกจากนี้ก็ต้องแผ่อยู่บ่อยๆ รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็แผ่ว่า สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด

เดินทางไปไหนมาไหน นั่งอยู่ในรถเราก็แผ่ไปในรถ แผ่ไปนึกไปทั่วไปหมด ขอให้มีความสุข มีความสุขทั้งมนุษย์ ทั้งที่ไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม อยู่ที่ทำงานก็แผ่ให้คนที่ทำงานทุกคนว่า ขอให้มีความสุขๆ อยู่ตรงไหนก็นึกแผ่อยู่เรื่อยๆ แผ่ให้จิตมีความสุข

ถ้าจิตมีเมตตาจริงๆ ก็จะเกิดความสุขความอิ่มเอิบขึ้นในใจ แล้วก็จะแผ่ขยายฉายออกไปทางใบหน้าและแววตา หน้าตาและแววตาก็จะแจ่มใสมีความสุขขึ้น ผิวหน้าจะสดใส มันจะฉายออกมา เมตตาเป็นจิตที่เป็นกุศล เมื่อจิตมีเมตตา กุศลก็เกิดขึ้น บุญเกิดขึ้นก็จะคุ้มครองรักษาตัวเราให้มีความสุข ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของการเจริญเมตตา ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน

ต่อไปจะอธิบายวิธีการเจริญสมถะ โดยเฉพาะการเจริญเมตตาควบคู่กับการเจริญวิปัสสนาว่าจะทำได้อย่างไร

การเจริญวิปัสสนามีหลักอยู่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่ปรากฏ ในที่นี้เมื่อเราเจริญเมตตา ก็ให้ระลึกรู้เข้ามาที่หน้าตาและที่ใจ ในขณะที่เราแผ่เมตตาออกไป แผ่ไป...แผ่ไป...ก็ให้มีสติระลึกสังเกตดูสภาพของใจ สังเกตว่าใจรู้สึกอิ่มเอิบ มีความสุขมั้ย ส่วนความรู้สึกของแก้ม ของหน้า ของตา เราสามารถสังเกตความรู้สึกด้วยตัวเองได้ว่าหน้าตาเราบึ้งหรือหน้าตาเราแจ่มใสคลี่คลาย ปากเราเป็นอย่างไร ยิ้มมั้ย

ถ้าเรารู้สึกได้ว่าใจอิ่มเอิบ มีความสุข ปากยิ้มได้ แสดงว่าจิตมีเมตตาจริงและก็เป็นวิปัสสนาด้วย เพราะสติได้มาระลึกรู้ที่ใจหรือที่จิตซึ่งเป็นสภาวะ ส่วนความรู้สึกที่หน้าตาและที่ปากนั้นเป็นจิตตชรูป เพราะปากจะยิ้มได้ต้องมาจากจิต ถ้าจิตอิ่ม จิตมีความสุข ปากจะยิ้ม ปากที่ยิ้มเกิดจากจิตเรียกว่าจิตตชรูป คือ จิตที่ทำให้เกิดการยิ้มได้

และผู้มีเมตตานั้นนอกจากจิตจะรู้สึกแจ่มใสแล้ว ดวงตายังแจ่มใสเหมือนยิ้มได้นะ คนที่มีนิสัยมีจิตใจเมตตา เวลาพูดไปก็เหมือนกับเขายิ้มไปในตัว ตายิ้ม ปากยิ้ม ใจยิ้ม มันมาจากใจ เพราะฉะนั้น ถ้าใจขุ่น ตาก็ขุ่น ปากก็ไม่ยิ้ม หน้าก็เครียด ดวงตาเป็นหน้าต่างของใจ ถ้าดูที่ตาก็จะรู้ไปถึงใจ ถ้าใจดีใจอิ่มเอิบ แววตาก็ดี ปากก็ยิ้ม จึงให้สังเกตความรู้สึกที่อิ่มเอิบ สังเกตใจที่มีปิติ มีความสุข สังเกตความผ่องใสในใจ ใจที่มีเมตตาจะผ่องใส เพราะกิเลสในใจขณะนั้นได้ถูกชำระออกไป ใจจึงอิ่มเอิบ หน้าตาแจ่มใส เมื่อมีสติมาระลึกถึงสภาพธรรมเหล่านี้ก็เป็นวิปัสสนา

แต่ถ้าเราเจริญเมตตาเสียจังหวะ บางทีก็ทำให้เคร่งตึงได้ ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วรู้สึกว่าสมองเครียด แผ่แล้วรู้สึกเคร่งตึง ก็ต้องลดการแผ่เมตตาลง แล้วให้มาเจริญวิปัสสนาด้วยความปล่อยวางมากขึ้น คือ เปลี่ยนจากการเจริญเมตตาที่นึกให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุข เปลี่ยนมาเป็นคำว่า “ปล่อยวาง” แทน ดังนั้น เมื่อเราจับความรู้สึกในสมอง ในสรีระได้ว่า มันตึงๆ สติระลึกรู้ความรู้สึกที่เคร่งตึงนั้น ก็สอนใจตนเองว่า ปล่อยวางนะ...ปล่อยวาง...ปล่อยวาง...ซึ่งเป็นวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่รวบยอด คือจะระลึกรู้อย่างปล่อยวาง พอรู้อย่างปล่อยวาง ความรู้สึกตึงๆ ในสมองจะคลาย สรีระจะคลาย

นอกจากนี้ การเจริญเมตตายังช่วยทำให้จิตตื่น และช่วยให้มีสติได้ด้วย สมมติว่าเราเป็นคนที่ระลึกไม่ค่อยจะได้ เป็นคนไม่ค่อยมีสติ ชอบเผลอ ตามหลักแล้ว การเจริญสติสามารถระลึกรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ แต่เราไม่ยอมมีสติ จะทำอย่างไร บังคับก็ไม่ได้ ก็ให้ลองเจริญเมตาควบคู่กับวิปัสสนา จะพบว่า เจริญเมตตาก็มีสติได้ พอเจริญเมตตาทีไร ก็จะกลับมามีสติระลึกได้ทุกที เลยกลายเป็นว่า เราอาศัยการเจริญเมตตาแล้วทำให้มีวิปัสสนาตามมา

อีกประการหนึ่งที่เป็นผลพลอยได้ คือทำให้จิตไม่เบลอ คนที่จิตเลื่อนลอย คือจิตไม่ทำงาน นั่งแล้วเบลอ ง่วงๆ ไม่มีสติสัมปชัญญะ ถ้าเจริญเมตตา จิตก็จะทำงานขึ้นมา เพียงแค่นึกว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขนะ...ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขนะ...จิตจะทำงาน จิตจะตื่น มีสติมาดูจิตได้อีก อย่างนี้เรียกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

สมถะ คือการเจริญเมตตา ทำให้จิตสงบ
วิปัสสนา คือระลึกรู้สภาวะที่กำลังปรากฏด้วยความปล่อยวาง


ฉะนั้น การเจริญเมตตากับการเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไป เจริญเมตตาเป็นสมถกรรมฐาน ระลึกรู้สภาวะเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่า ยุคนันทะสมถะวิปัสสนา และก็แถมให้อีกว่า ที่ว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันนี้ สามารถไปคู่กับสมถะบทอื่นได้หลายๆ อย่าง เช่น คู่กับอาณาปานสติ คือ การกำหนดระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก แล้วก็เจริญวิปัสสนาควบคู่กัน การเจริญอาณาปานสตินี้เป็นสมถะกรรมฐาน เพราะเป็นการระลึกอารมณ์บัญญัติ

การเจริญอาณาปานสติทำอย่างไร ตามแนวมหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ให้มีสติรู้ลมหายใจเข้า มีสติรู้ลมหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจเข้า สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขารหายใจออก นี้เป็นวิธีการเจริญอาณาปานสติ ซึ่งทำให้เกิดสมาธิ

แผ่อย่างนี้ นึกซ้ำๆ บ่อยๆ เข้าเพื่อจะดึงจิตเราให้คล้อยตาม คือให้จิตมีเมตตาจริงๆ แต่ถ้าหากว่าภาษาบาลีเราไม่ถนัด นั่งนึกแต่บาลีจำไม่ได้ก็เลยเครียด แผ่แล้วอย่าให้สมองเครียดเพราะเป้าหมายจริงๆ ของการแผ่เมตตา คือให้เข้าถึงความโปร่งเบาทางจิต เมื่อจิตมีความสุขก็มีสมาธิ เพราะความสุขเป็นเหตุของสมาธิ เพราะฉะนั้นเราต้องปรับสมอง ปรับใจของเราให้สบายๆ ถ้าแผ่เป็นภาษาบาลีไม่ได้ ก็แผ่เป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า

“ขอให้สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด”

แผ่เป็นภาษาไทยอย่างนี้ วนๆ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น ให้จิตคล้อยตาม หรือถ้ายังยาวไปมันหลายบท จำยาก จำไม่ได้ ก็ใช้บทเดียวก็ได้ว่า “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” ว่าอย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมา “ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด” แล้วก็พยายามน้อมให้จิตคล้อยตาม คือเราอาจจะไม่ต้องไปนึกเห็นหน้าตาของคนที่เราแผ่เมตตาให้ชัดเจน แต่ให้นึกแบบรวมๆ

เหมือนเราแผ่เมตตาให้เป็นวงกว้างออกจากตัวออกจากใจของเรา แผ่ขยายออกไป แผ่ออกไปกว้างๆ เหมือนแสงที่กระจายออกไปจากรอบตัวเรา กว้างออกไป...กว้างออกไป...นึกแผ่ออกไปให้รวมๆ ไปทั้งหมดทุกชีวิต ทั้งมนุษย์ ทั้งเทวดา ทั้งสัตว์ในอบายภูมิ ซึ่งเรารวมเรียกว่าสัตว์ทั้งหลาย นอกจากนี้ก็ต้องแผ่อยู่บ่อยๆ รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็แผ่ว่า สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิด

เดินทางไปไหนมาไหน นั่งอยู่ในรถเราก็แผ่ไปในรถ แผ่ไปนึกไปทั่วไปหมด ขอให้มีความสุข มีความสุขทั้งมนุษย์ ทั้งที่ไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม อยู่ที่ทำงานก็แผ่ให้คนที่ทำงานทุกคนว่า ขอให้มีความสุขๆ อยู่ตรงไหนก็นึกแผ่อยู่เรื่อยๆ แผ่ให้จิตมีความสุข

ถ้าจิตมีเมตตาจริงๆ ก็จะเกิดความสุขความอิ่มเอิบขึ้นในใจ แล้วก็จะแผ่ขยายฉายออกไปทางใบหน้าและแววตา หน้าตาและแววตาก็จะแจ่มใสมีความสุขขึ้น ผิวหน้าจะสดใส มันจะฉายออกมา เมตตาเป็นจิตที่เป็นกุศล เมื่อจิตมีเมตตา กุศลก็เกิดขึ้น บุญเกิดขึ้นก็จะคุ้มครองรักษาตัวเราให้มีความสุข ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของการเจริญเมตตา ซึ่งเป็นสมถกรรมฐาน

ต่อไปจะอธิบายวิธีการเจริญสมถะ โดยเฉพาะการเจริญเมตตาควบคู่กับการเจริญวิปัสสนาว่าจะทำได้อย่างไร

การเจริญวิปัสสนามีหลักอยู่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติระลึกรู้สภาวธรรมที่ปรากฏ ในที่นี้เมื่อเราเจริญเมตตา ก็ให้ระลึกรู้เข้ามาที่หน้าตาและที่ใจ ในขณะที่เราแผ่เมตตาออกไป แผ่ไป...แผ่ไป...ก็ให้มีสติระลึกสังเกตดูสภาพของใจ สังเกตว่าใจรู้สึกอิ่มเอิบ มีความสุขมั้ย ส่วนความรู้สึกของแก้ม ของหน้า ของตา เราสามารถสังเกตความรู้สึกด้วยตัวเองได้ว่าหน้าตาเราบึ้งหรือหน้าตาเราแจ่มใสคลี่คลาย ปากเราเป็นอย่างไร ยิ้มมั้ย

ถ้าเรารู้สึกได้ว่าใจอิ่มเอิบ มีความสุข ปากยิ้มได้ แสดงว่าจิตมีเมตตาจริงและก็เป็นวิปัสสนาด้วย เพราะสติได้มาระลึกรู้ที่ใจหรือที่จิตซึ่งเป็นสภาวะ ส่วนความรู้สึกที่หน้าตาและที่ปากนั้นเป็นจิตตชรูป เพราะปากจะยิ้มได้ต้องมาจากจิต ถ้าจิตอิ่ม จิตมีความสุข ปากจะยิ้ม ปากที่ยิ้มเกิดจากจิตเรียกว่าจิตตชรูป คือ จิตที่ทำให้เกิดการยิ้มได้

และผู้มีเมตตานั้นนอกจากจิตจะรู้สึกแจ่มใสแล้ว ดวงตายังแจ่มใสเหมือนยิ้มได้นะ คนที่มีนิสัยมีจิตใจเมตตา เวลาพูดไปก็เหมือนกับเขายิ้มไปในตัว ตายิ้ม ปากยิ้ม ใจยิ้ม มันมาจากใจ เพราะฉะนั้น ถ้าใจขุ่น ตาก็ขุ่น ปากก็ไม่ยิ้ม หน้าก็เครียด ดวงตาเป็นหน้าต่างของใจ ถ้าดูที่ตาก็จะรู้ไปถึงใจ ถ้าใจดีใจอิ่มเอิบ แววตาก็ดี ปากก็ยิ้ม จึงให้สังเกตความรู้สึกที่อิ่มเอิบ สังเกตใจที่มีปิติ มีความสุข สังเกตความผ่องใสในใจ ใจที่มีเมตตาจะผ่องใส เพราะกิเลสในใจขณะนั้นได้ถูกชำระออกไป ใจจึงอิ่มเอิบ หน้าตาแจ่มใส เมื่อมีสติมาระลึกถึงสภาพธรรมเหล่านี้ก็เป็นวิปัสสนา

แต่ถ้าเราเจริญเมตตาเสียจังหวะ บางทีก็ทำให้เคร่งตึงได้ ถ้าเราแผ่เมตตาแล้วรู้สึกว่าสมองเครียด แผ่แล้วรู้สึกเคร่งตึง ก็ต้องลดการแผ่เมตตาลง แล้วให้มาเจริญวิปัสสนาด้วยความปล่อยวางมากขึ้น คือ เปลี่ยนจากการเจริญเมตตาที่นึกให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุข เปลี่ยนมาเป็นคำว่า “ปล่อยวาง” แทน ดังนั้น เมื่อเราจับความรู้สึกในสมอง ในสรีระได้ว่า มันตึงๆ สติระลึกรู้ความรู้สึกที่เคร่งตึงนั้น ก็สอนใจตนเองว่า ปล่อยวางนะ...ปล่อยวาง...ปล่อยวาง...ซึ่งเป็นวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่รวบยอด คือจะระลึกรู้อย่างปล่อยวาง พอรู้อย่างปล่อยวาง ความรู้สึกตึงๆ ในสมองจะคลาย สรีระจะคลาย

นอกจากนี้ การเจริญเมตตายังช่วยทำให้จิตตื่น และช่วยให้มีสติได้ด้วย สมมติว่าเราเป็นคนที่ระลึกไม่ค่อยจะได้ เป็นคนไม่ค่อยมีสติ ชอบเผลอ ตามหลักแล้ว การเจริญสติสามารถระลึกรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ แต่เราไม่ยอมมีสติ จะทำอย่างไร บังคับก็ไม่ได้ ก็ให้ลองเจริญเมตาควบคู่กับวิปัสสนา จะพบว่า เจริญเมตตาก็มีสติได้ พอเจริญเมตตาทีไร ก็จะกลับมามีสติระลึกได้ทุกที เลยกลายเป็นว่า เราอาศัยการเจริญเมตตาแล้วทำให้มีวิปัสสนาตามมา

อีกประการหนึ่งที่เป็นผลพลอยได้ คือทำให้จิตไม่เบลอ คนที่จิตเลื่อนลอย คือจิตไม่ทำงาน นั่งแล้วเบลอ ง่วงๆ ไม่มีสติสัมปชัญญะ ถ้าเจริญเมตตา จิตก็จะทำงานขึ้นมา เพียงแค่นึกว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงมีความสุขนะ...ขอให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขนะ...จิตจะทำงาน จิตจะตื่น มีสติมาดูจิตได้อีก อย่างนี้เรียกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

สมถะ คือการเจริญเมตตา ทำให้จิตสงบ
วิปัสสนา คือระลึกรู้สภาวะที่กำลังปรากฏด้วยความปล่อยวาง


ฉะนั้น การเจริญเมตตากับการเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไป เจริญเมตตาเป็นสมถกรรมฐาน ระลึกรู้สภาวะเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เรียกว่า ยุคนันทะสมถะวิปัสสนา และก็แถมให้อีกว่า ที่ว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันนี้ สามารถไปคู่กับสมถะบทอื่นได้หลายๆ อย่าง เช่น คู่กับอาณาปานสติ คือ การกำหนดระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก แล้วก็เจริญวิปัสสนาควบคู่กัน การเจริญอาณาปานสตินี้เป็นสมถะกรรมฐาน เพราะเป็นการระลึกอารมณ์บัญญัติ

การเจริญอาณาปานสติทำอย่างไร ตามแนวมหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ให้มีสติรู้ลมหายใจเข้า มีสติรู้ลมหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจเข้า สำเหนียกว่า จะกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งหมดหายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขารหายใจออก นี้เป็นวิธีการเจริญอาณาปานสติ ซึ่งทำให้เกิดสมาธิ

............ หน้า 1 , หน้า 2

 
 

 


 ธรรมะมีหมอดู
 

 
ชมรมบ้านโหรเทวเทพ    


หมอดูแม่นๆ