หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิโต วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์ทั้งตลอดชีวิตที่ประพฤติปฏิบัติในทางกรรมฐาน โดยเคร่งครัดเฉพาะเวลาวิกาลแล้วมักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และมีอายุยืนถึง๑๐๘ ปี หลวงพ่อเขียน เมื่อครั้งครองเพศฆราวาสท่านมีชื่อว่า เสถียร
ชาติกำเนิด
เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็น สามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัด ทุ่งเรไร ในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขรสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่าน สมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก เสถียร มาเป็น เขียน นับแต่บัดนั้น สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จน อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำ พรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนา ธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัด ธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจ จะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทาง ไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดิน ทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น
อ้ายยักษืเขียวกัดหลวงพ่อ
หลวงพ่อเขียน มาอยู่วัดวังตะกูได้ไม่กี่ปี ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเวียงใต้ ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวง พ่อตัวหนึ่ง และต่อมานายทอง บ้านเขาอีแร้ง ก็ได้นำม้าตัวผู้สีเขียว ค่อนข้างดุ ชื่อ อ้ายเขียวยักษ์ มาถวายหลวงพ่ออีก วันหนึ่ง หลวงพ่อเขียน จูงอ้ายเขียวยักษ์ ไปกินน้ำที่สระข้างวัด อ้ายเขียวยักษ์ เห็นสระน้ำอยู่เบื้องหน้าก็ออกวิ่งไปด้วยความคึกคะนอง แล้วนึกอย่างไรไม่ทราบ มันกลับวิ่งหวนเข้า มาหาหลวงพ่อ ตรงเข้าโขก และกัดท่านที่หน้าผาก ไหล่ขวา และหน้าอก จนหลวงพ่อล้มกลิ้งไป แต่ จะหารอยแผลสักน้อยก็ไม่มี มีแต่รอยเขียวช้ำเท่านั้น ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ พากันคว้าไม้จะเข้าไป ไล่ตี เจ้าเขียวยักษ์ แต่หลวงพ่อรีบลุกขึ้นและร้องห้ามไม่ให้ตีมัน ท่านบอกว่า อ้ายเขียว มันลอง หลวงพ่อน่อ วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อได้นำหญ้าอ่อนไปกำมือหนึ่ง แล้วเป่าคาถา อึดใจเดียวก็ยื่นให้ เจ้าเขียวยักษ์กิน แล้วท่านยังยกข้าวเปลือกที่แช่ในถังน้ำ มาให้มันเป็นของแถมเสียอีก หลังจากเจ้าเขียวยักษ์ กินหญ้า อ่อน และข้าวเปลือกแล้ว มันก็ยืนนิ่งเฉย ปล่อยให้หลวงพ่อ ลงอักขระ ที่กีบเท้าทั้งสี่ข้าง อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเขียวยักษ์เกิดหลุดเชือก ไปกินข้าวในนา ของมรรคทายกนวม มรรคทายกเกิด โมโห คว้าปืนลูกซองยาว ยิงเจ้าเขียวยักษ์ด้วยลูกเก้า (ลูกแบบแตกปลาย) ลูกปืนถูกเจ้าเขียวยักษ์ อย่างจัง แต่ไม่ระคายผิวเจ้าเขียวยักษ์เลย นางมา เมียมรรคทายกนวม เห็นดังนั้น ก็เกิดความ โมโหหนักขึ้น ถึงกับไปยืนด่าว่า หลวงพ่อด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่างๆ นานา หาว่าหลวงพ่อเลี้ยงม้า ไม่ดี ปล่อยให้ไปรบกวนชาวบ้าน ให้เดือดร้อนเสียข้าวเสียของ หลวงพ่อท่านนิ่งฟังพักใหญ่ ก็บอกว่า เอ็งทำเป็นด่าข้าดีไปเถอะ ระวังปากเอ็งจะเน่า ต่อมาอีกไม่ กี่วัน นางมาได้เกิดป่วยเป็นโรคปากเปื่อย ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จมขี้จมเยี่ยว เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ ที่พบเห็น แต่เมื่อมีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาสงสาร ได้ใช้ให้คนไปบอกนางมา ให้หาดอกไม้ธูป เทียน มาขอขมาท่านเสีย นางมาทราบแล้ว ก็รีบปฏิบัติตามทันที มิช้าก็หายป่วย ม้าของหลวงพ่อเขียน ที่เดิมมีเพียงตัวเมีย กับตัวผู้ คือเจ้าเขียวยักษ์นั้น ต่อมาก็ได้ผสมพันธุ์กัน จนถึง ปี ๒๔๗๗ ม้าก็เพิ่มจำนวนถึง ๗๐ ตัว ในจำนวนนี้ มันได้แบ่งพวกออกเป็น ๓ ฝูงๆ ละเกือบ เท่าๆ กัน ในฤดูแล้งม้า จะถูกปล่อยให้ไปหากินตามชายป่า หัวหน้าฝูงจะเป็นผู้นำ แต่ละฝูงจะอยู่ห่างกันไม่ เกิน ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พอตกเวลาเย็น มันก็จะทยอยกันกลับวัด เข้าคอกเองโดยไม่ต้องมีคนไป ไล่ต้อน ถ้าเป็นฤดูฝน หรือฤดูหนาว หลวงพ่อจะเอาข้าวเปลือกแช่น้ำ มากองหลายๆ กองให้ม้ากิน บางทีท่านก็เอาน้ำตาลปี๊บ ไปป้อนลูกม้า ท่านทำเช่นนี้เกือบจะเป็นประจำ ด้วยความเมตตา