เที่ยวจังหวัดพิจิตร
ขอขอบคุณ.https://www.youtube.com/watch?v=3p8P3WofZ_Q
" เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด
หลวงพ่อเพชรรวมใจ บึงสีไฟลือเลื่อง ยอดพระเครื่องหลวงพ่อเงิน "
ข้อมูลทั่วไป จังหวัดพิจิตร
พิจิตร เมืองพญาชาละวัน ถิ่นกำเนิดนิทานเรื่อง ไกรทอง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีความหมายว่า เมืองงาม ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ ในสมัยสุโขทัย ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า เมืองสระหลวง ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองโอฆบุรี ซึ่งแปลว่า เมืองในท้องน้ำ นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ความกว้างจากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกประมาณ 72 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสามง่าม อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ อำเภอวชิรบารมี กิ่งอำเภอสากเหล็ก กิ่งอำเภอคงเจริญ และกิ่งอำเภอบึงนาราง
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดจังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้ จดจังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก จดจังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก จดจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์
การเดินทาง
รถยนต์ ท่านสามารถเดินทางไปจังหวัดพิจิตรได้หลายเส้นทางคือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ - ชุมแสง - บางมูลนาก - ตะพานหิน - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 1118) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ 345 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางตากฟ้า - เขาทราย - สากเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข 11) และเข้าสู่จังหวัดพิจิตรที่กิ่งอำเภอสากเหล็ก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 111) รวมระยะทางประมาณ 344 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางสายตากฟ้า - เขาทราย (ทางหลวงหมายเลข 11) แยกเข้าเส้นทางเขาทราย - ตะพานหิน (ทางหลวงหมายเลข 113) แยกเข้าเส้นทางตะพานหิน - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 113) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร ระยะทางประมาณ 338 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ที่อยุธยา ถีงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์ - พิษณุโลก (ทางหลวงหมายเลข 117) ถึงอำเภอสามง่าม แยกเข้าเส้นทางสามง่าม - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 115) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทาง 360 กิโลเมตร
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไป-กลับ กรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง สามารถขึ้นได้จากสถานีสามเสน บางซื่อ ดอนเมือง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 223-7010, 223-7020, 1690
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารประจำทางทั้งปรับอากาศและธรรมดา ไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 537-8055 (รถธรรมดา) และโทร. 936-0199 (รถปรับอากาศ)
## แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
ไร่องุ่นดงเจริญ
ไร่องุ่นดงเจริญ ตั้งอยู่ที่ ถนนตลิ่งชัน-บึงสามพัน อยู่ห่างจากขจรฟาร์ม (ฟาร์มนกกระจอกเทศ) ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นไร่องุ่นพันธุ์ดี ในพื้นที่ 200 ไร่ |
วัดโรงช้าง
วัดโรงช้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลโรงช้างทางทิศใต้ของตัวเมือง ติดกับถนนพิจิตร สามง่าม - วังจิก (ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068) |
เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา
เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา หมู่ 7 ตำบลหนองพระ เป็นเนินเขาขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเขาลูกโดดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ เป็นเหมืองทองคำเปิดแห่งแรก |
วัดนครชุม
วัดนครชุม ตั้งอยู่บนถนนสายพิจิตร สามง่าม - วังจิก (ทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 9 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย |
วัดโพธิ์ประทับช้าง
วัดโพธิ์ประทับช้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2242-2244 ในสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี(ขุนหลวงสรศักดิ์หรือพระพุทธเจ้าเสือ) |
พระพุทธเกตุมงคล
พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร แท่นสูง 4 เมตร |
สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ
สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด |
บึงสีไฟ
บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย เป็นที่อยู่อาศัยของ ปลา และนก หลายชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ และเป็นสถานที่พักผ่อน |
วัดท่าหลวง
วัดท่าหลวง เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 |
วัดเขารูปช้าง
วัดเขารูปช้าง ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ บนยอดเขามีเจดีย์สีทองเหลืองอร่าม ตั้งอยู่บนก้อนหินที่ซ้อนกันจนมองดูคล้ายกับรูปช้างกำลังหมอบคลานอยู่ |
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า สร้างในสมัยพระยาโคตรบอง ประมาณปี พ.ศ. 1601 ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ |