|
Side Menu |
ภาคเหนือ |
|
|
ภาคกลาง |
|
|
ภาคอีสาน |
|
|
ภาคตะวันออก |
|
|
ภาคใต้ |
|
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว |
|
| |
|
| | |
|
|
|
ภูมิอากาศ
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก ภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อน (tropical climate) มีอุณหภูมิและฝนเป็นปัจจัย สำคัญในการกำหนดเขตภูมิอากาศ พื้นที่ทั้งหมดของประเทศอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู คือ มรสุมตะวันตก เฉียงใต้จากแถบมหาสมุทรอินเดียเป็นฤดูฝน มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากทะเลจีนใต้เป็นฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ลักษณะภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับ กันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดปี
ฝนที่ตกในฤดูร้อนเป็นฝนที่เกิดจากอากาศลอยตัว ส่วนในฤดูฝนจะมีทั้งแบบที่เกิดจากอากาศลอยแบบฝนปะทะภูเขา และแบบพายุดีเปรสชั่นหรือไต้ฝุ่น ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปีมีมากกว่า 1,500 มิลลิเมตร หรือ 61 นิ้ว ซึ่งน่าจะเพียงพอ สำหรับการเกษตรกรรม แต่เนื่องจากมีปัญหาการกระจายของฝนไม่ดี คือ พื้นที่ส่วนใหญ่จะมีช่วงฤดูฝนสั้นกว่าฤดูแล้ง และพื้นดินไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ดีเท่าที่ควร จึงทำให้เกษตรกรขาดน้ำใช้อุปโภคบริโภค รัฐบาลจึงได้สร้างเขื่อนเพื่อกัก เก็บน้ำในฤดูฝน บรรเทาปัญหาอุทกภัย และเปิดให้เกษตรกรได้ใช้ในฤดูแล้ง นอกจากนั้นยังได้ใช้ประโยชน์ในการ ผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย
ฤดูกาลแต่ละภูมิภาคแตกต่างกัน ดังนี้
|
ภาคกลาง
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และมีฝนตกในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ส่วนฤดูหนาวจะเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
|
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน สภาพอากาศจะร้อนและ แห้งแล้งจัด ส่วนฤดูฝนเริ่มในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนมากจนเกิดภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ของภาค และฤดู หนาวในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม อากาศหนาวเย็นจัดและแห้งแล้ง
|
|
ภาคใต้
มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน (เป็นฤดูท่องเที่ยว) โดยฝั่งทะเลตะวันออก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่พฤษภาคม- กันยายน ส่วนฝั่งทะเลอันดามัน ฤดูร้อนเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน
|
|
ภาคเหนือ
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนเริ่มในเดือนมีนาคม-เมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว ในเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ สภาพอากาศค่อนข้างเย็นจัด
| |
| |