|
Side Menu |
ภาคเหนือ |
|
|
ภาคกลาง |
|
|
ภาคอีสาน |
|
|
ภาคตะวันออก |
|
|
ภาคใต้ |
|
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว |
|
| |
|
| | |
|
|
|
เศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจภายในของประเทศไทยเป็นแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้ามามีส่วนในการดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจของประเทศหลายประการ แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเป็นของเอกชน ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกนิยมใช้ในปัจจุบัน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงประมาณ 7-8% ซึ่งถ้ามองในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ตัวเลขดังกล่าวมีผลในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากการที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก
ระบบเศรษฐกิจของไทยจำเป็นต้องพึ่งพาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีการแข่งขันกันผลิต มีการขาย และมี การจัดการตามระบบการค้าเสรี ปัจจุบันรายได้สูงสุดของประเทศมาจากสินค้าทางการเกษตรถึงร้อยละ 60 ของรายได้ จากการส่งออกทั้งหมด และจากการจ้างแรงงานในสาขาเกษตรถึงร้อยละ 70 ของแรงงานทั่วประเทศ รัฐบาลจึงให้ความ สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านการเกษตรเป็นพิเศษ และด้านอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง การพาณิชย์และ การท่องเที่ยว เป็นอันดับที่ลดหลั่นลงมา
ผลิตผลทางเกษตรของไทย เกิดขึ้นจากความอุดมสมบูรณ์ของน้ำและผืนดิน ความขยันหมั่นเพียรของเกษตรกร ความ รู้ในเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณภาพดี และเทคโนโลยีต่าง ๆ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ ทุเรียน สับปะรด มังคุด ลางสาด มะม่วง กล้วยหอม ส้มโอ ฯลฯ อาหาร ทะเลสดและตากแห้ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีผลผลิตจากป่าเขตร้อน เช่น สมุนไพร หวาย ย่านลิเภา ไม้ไผ่ ที่นำมาออกแบบจักสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่สวยงามจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย ทรัพยากรเหล่านี้นอกจากจะทำรายได้ให้แก่ชุมชนแล้ว ยังเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนไม่ละทิ้งท้องถิ่น มีการรวมตัวกัน พัฒนาหมู่บ้านของตนให้น่าอยู่ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ วิถีชีวิตเรียบง่ายสงบสุขแบบไทย ๆ เช่นนี้ เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจที่จะเข้ามาสัมผัสด้วยตนเอง
ถึงแม้ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายไป ด้วย ความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การปรับลดงบประมาณในทุกส่วนราชการ ค่าเงินบาทที่อ่อนตัว ลง และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวปี Amazing Thailand 1998-1999 รวมไปถึงโครงการต่อเนื่องที่จะตามมา ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศชาติอีกทางหนึ่ง
|
| |