Meemodo.com
ท่องเที่ยวทั่วไทย 
"ดูดวงแม่นๆโทร.088-555-9771 อ.รวีโรจน์ มีหมอดู"

    Side Menu

                            ภาคเหนือ

                            ภาคกลาง

                             ภาคอีสาน

                            ภาคตะวันออก

                             ภาคใต้

           แนะนำแหล่งท่องเที่ยว





                                                                                              
ประวัติศาสตร์

   จากหลักฐานทางโบราณคดีซึ่งค้นพบในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี ที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี หรือที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง ปรากฎร่องรอยอารยธรรมอันเก่าแก่ของโลก ซึ่งมีอายุเกือบ 6 พันปี

    ชนชาติที่ครอบครองดินแดนแห่งนี้ในยุคโบราณนั้น เป็นชนชาวละว้าและชาวป่าเขาในตระกูลมอญ และขอมโบราณ ดัง หลักฐานที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ อาณาจักรลพบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน

    ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีอาณาจักร 3 แห่ง ที่ครอบครองดินแดนในแถบนี้ ได้แก่

 

อาณาจักรขอม ครอบครองดินแดนลุ่มน้ำโขงและน้ำมูลทางตะวันออกลงไป มีเมืองหลวงอยู่ที่นครวัด ในกัมพูชา (ปัจจุบัน)

 

อาณาจักรทวารวดี มีชนชาติมอญครอบครองพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปถึงดินแดน ตอนเหนือ ของคาบสมุทรมลายา มีเมืองศูนย์กลางตั้งอยู่ที่นครปฐม

 

อาณาจักรศรีวิชัย อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายา มีชาวมลายูครอบครองอยู่

    ในระหว่างนั้นชนชาติไทยโบราณได้ค่อย ๆ อพยพโยกย้ายลงมาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และตั้งอาณาจักร เป็นหลักแหล่งขึ้น ตามที่ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในบริเวณมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในเขตสิบสองปันนา เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า

    เนื่องจากอาณาจักรน่านเจ้าถูกรุกรานจากชนชาติจีนซึ่งเข้มแข็งกว่า ประกอบกับคนไทย มีอาชีพกสิกรรม จึงเดินทาง ถอยลงมาทางใต้ตามแนวแม่น้ำโขง เพื่อแสวงหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม และตั้งอาณาจักรเป็นหลักแหล่งขึ้นใหม่ หลายแห่งในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในความครอบครองของชนชาติขอม

    เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ได้ปรากฎอาณาจักรลานนาไทย หรือล้านนาขึ้นบนฝั่งแม่น้ำโขงในบริเวณที่ตั้ง ของอำเภอเชียงแสน จ.เชียงรายในปัจจุบัน และอาณาจักรลานช้าง หรือล้านช้าง อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงพระบางของ ลาวในปัจจุบัน

    ต่อมาชาวไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้ามาอยู่ในดินแดนของขอม ได้รวมตัวกันขึ้นและสถาปนา อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งแปลว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" เป็นอิสระพ้นจากอำนาจของขอม มีพระร่วงเจ้าหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นกษัตริย์พระองค์ แรก และมีกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ ที่สำคัญพระองค์หนึ่ง คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นช่วงที่บ้านเมืองสงบสุข ปราศจากศึกสงคราม

    ในระหว่างนั้น (ราวศตวรรษที่ 14) ได้มีชนชาติไทยอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้ตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ เรียกว่า กรุงศรีอยุธยา ภายใต้การนำของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เมื่ออาณาจักร เข้มแข็งขึ้นจึงได้รวบรวมอาณาจักรอื่น ๆ เข้าไว้ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้งหมด ซึ่งกรุงสุโขทัยก็ได้ตกเป็น ประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1894 และมีการขยายอำนาจออกไปทั่วบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน แหลมมลายู จนถึงเกาะปีนังและสิงคโปร์ มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติหลายประเทศ จึงเป็นโอกาสที่วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้เผย แพร่เข้ามา

    ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2112-2124 กรุงศรีอยุธยาได้สูญเสียเอกราชครั้งที่ 1 ให้แก่พม่า ซึ่งต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกอบกู้แผ่นดินคืนได้ และประกาศอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. 2127 จากนั้นได้ทรงขยายอาณาเขตให้กว้างไกลออกไป กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ แผ่นดินร่มเย็นเป็นสุข มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบเนื่องกันมารวม 33 พระองค์

    ในปี พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาได้ถูกรุกรานและตกอยู่ภายใต้การ ปกครองของพม่าอีกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากผู้ปกครองขาดความสนใจใน หน้าที่บ้านเมือง เกิดความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก บ้านเมืองระส่ำ ระสาย ขาดเสถียรภาพ กอปรกับการว่างเว้นจากศึกสงครามมานาน พม่า จึงได้ใช้ยุทธวิธีสงครามแบบกองโจรทำให้ตีกรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นเจ้าพระยาตาก ได้ รวบรวมไพล่พลประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เมื่อรวบรวมชาวไทยที่รักชาติได้ เป็นปึกแผ่นแล้ว จึงยกพลเข้าตีกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ในปีเดียวกัน แต่เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้รับความ เสียหายเกินกว่าที่จะฟื้นฟูได้ในระยะเวลานั้น และพม่ารู้เส้นทางดีอยู่แล้ว จึงเกรงว่าจะทำให้รักษาบ้านเมืองไว้ได้ยาก จึงทรงย้ายเมืองหลวงมาที่ กรุงธนบุรี และปกครองบ้านเมืองมาจนกระทั่งถึง พ.ศ.2325 รวมระยะเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี 15 ปี

    จากการที่ต้องทำสงครามกับพม่าและต้องรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้งต้องทนุบำรุงบ้านเมือง ตลอดเวลา เศรษฐกิจของกรุงธนบุรีจึงอยู่ในสภาพที่ตกต่ำมาก พระยาจักรีนายทหารผู้กล้าแห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งได้ ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้เอกราชของบ้านเมืองเมื่อคราวเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงสร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2325 ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีกว่าด้วยประการทั้งปวง และพระราชทานนามว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์"

    ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และ 19 (ปี พ.ศ.2394-2453 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4-5) ประเทศในแถบเอเชียตอนใต้ ตกเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ดำรงความเป็นเอกราชมาได้ตลอด เพราะพระปรีชาสามารถในการดำเนินวิเทโศบายด้านการเมืองขององค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยทรงเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศมหาอำนาจ และดำเนินการด้านการค้า และสัญญาต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งต้องยอมสูญเสียดินแดน หรือผล ประโยชน์ของประเทศในบางส่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติ

    ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องมา จนถึงรัชกาลปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือ พระรามาธิบดีที่ 9 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

    จากประวัติศาสตร์ของไทยจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องราวของการสร้างชาติ การต่อสู้และการกอบกู้อิสรภาพ ตลอดจนการ ติดต่อมีสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพื่อเหตุผลทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ ซึ่งระยะเวลาอันยาวนานนี้ ชาติไทยได้มีโอกาสรับวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ไว้มากมาย เช่น วัฒนธรรมจีน ลาว กัมพูชา พม่า อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และวัฒนธรรมของชาติในทวีปยุโรป คนไทยจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสหยิบยืมวัฒนธรรมมากกว่าจะได้มี โอกาสหยุดยั้งและคิดสร้างวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนขึ้นเอง

    อย่างไรก็ตาม คนไทยก็สามารถนำวัฒนธรรมของชาติอื่นมาประยุกต์และปรับใช้ให้เข้ากับคุณลักษณะและคุณสมบัติ ของคนไทย ตลอดจนพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบไทย หรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทยเองได้เป็นอย่างดี

Copyright (c) 2006 by Meemodo.com