|
Side Menu |
ภาคเหนือ |
|
|
ภาคกลาง |
|
|
ภาคอีสาน |
|
|
ภาคตะวันออก |
|
|
ภาคใต้ |
|
แนะนำแหล่งท่องเที่ยว |
|
| |
|
| | |
|
|
|
โครงสร้างของสังคมไทย
โครงสร้างที่สำคัญของสังคมไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ โครงสร้างสังคมชนบทและโครงสร้างสังคมเมือง แต่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งเป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม ดังนั้น ถ้า หากจะรู้จักสังคมและวัฒนธรรมไทยจะต้องพิจารณาจากโครงสร้างสังคมชนบทเป็นหลัก และจะต้องพิจารณาถึงอิทธพล ของสังคมและวัฒนธรรมเมืองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมชนบทประกอบไปพร้อม ๆ กันด้วย
1. โครงสร้างสังคมชนบท จัดได้ว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุด ของสังคมไทย เพราะเท่ากับเป็นโครงสร้าง ของสังคมไทยทั้งหมด ลักษณะจำเพาะที่ สำคัญของสังคมชนบท ได้แก่ การร่วมกลุ่มแบบอรูปนัย (informal) ของกลุ่มปฐมภูมิ (primary group) มีการติดต่อ กันแบบตัวถึงตัว สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม ซึ่งคล้ายคลึงกัน ทำให้สถานภาพและบทบาทของ คนในสังคมชนบทไม่แตกต่างกันมากนัก ในสังคมชนบทมีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น สมาชิกของสังคมทำหน้าที่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างราบรื่น โดยมีระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ มีการนับถืออาวุโส มีความเห็นอกเห็นใจกัน และมีค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคมของคนชนบท สถานภาพจะมีลักษณะ จำเพาะของตัวบุคคลเอง เช่น อายุ ความสามารถ และคุณความดี ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำในสังคมชนบทมักได้แก่ พระ ผู้ใหญ่บ้าน กำนันและผู้อาวุโสที่ชาวบ้านเคารพนับถือ
2. โครงสร้างสังคมเมือง ข้อแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง ได้แก่ จำนวนกลุ่มและองค์การที่มีมากในสังคมเมืองหลวง หลักเกณฑ์การพิจารณาสถานภาพทางสังคมของบุคคลในเมืองหลวงขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ อำนาจและความเกี่ยวข้อง ทางการเมือง และระดับการศึกษาซึ่งผิดจากเกณฑ์ของสังคมชนบท นอกจากนั้นแล้วโครงสร้างชนชั้นทางสังคมในเมืองหลวงดูจะชัดเจน คือ ประกอบด้วยกลุ่มคนที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเก่าและขุนนาง ผู้บริหารในสาขาอาชีพ ต่าง ๆ นักธุรกิจ ข้าราชการ ช่างฝีมือ และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้อพยพจากสังคมชนบทมาอาศัยอยู่ ตามชุมชนแออัดทั้งหลายของสังคมเมืองหลวง
ค่านิยมของคนเมืองหลวงนั้นจะเน้นหนักเรื่องอำนาจและความมั่งคั่งมากกว่าชาวชนบท มีความต้องการยกระดับตัวเอง จากชั้นสังคมเดิมไปสู่ชั้นที่สูงกว่า โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ฐานะการเงิน การศึกษา อำนาจทางการเมือง และสิทธิ |
| |